วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 Wikipedia


อะไรคือวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ซึ่งผู้ที่ใช้วิกิพีเดียร่วมกันเขียน วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์พิเศษที่ออกแบบมาให้การร่วมมือเป็นไปโดยง่าย ที่เรียกว่า วิกิ คนจำนวนมากพัฒนาวิกิพีเดียสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในประวัติหน้าและหน้าปรับปรุงล่าสุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ดูที่ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย


จะช่วยได้อย่างไร
อย่ากลัวที่จะแก้ไข — ทุกคนสามารถแก้ไขได้แทบทุกหน้า และเราสนับสนุนให้คุณกล้า! หาสิ่งที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น การสะกด ไวยากรณ์ การเขียนใหม่ให้อ่านเข้าใจง่าย การเพิ่มเนื้อหา หรือการนำการแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์ออก หากคุณต้องการเพิ่มข้อเท็จจริงใหม่ โปรดหาแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันข้อเท็จจริงนั้นได้ หรือเสนอข้อเท็จจริงในหน้าอภิปรายของบทความ ปกติควรอภิปรายก่อนการแก้ไขหัวข้อซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอยู่และหน้าหลักของวิกิพีเดีย
พึงระลึกว่า – คุณพังวิกิพีเดียไม่ได้หรอก! ทุกการแก้ไขสามารถย้อนกลับ ซ่อมแซมหรือปรับปรุงภายหลังได้ วิกิพีเดียอนุญาตให้มีข้อบกพร่อง ฉะนั้น ลุยเลย แก้ไขบทความและช่วยทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุดบนอินเทอร์เน็ตกันเถอะ!
บริจาค – คุณสามารถใช้วิกิพีเดียได้โดยไม่เสียค่าบริการ แต่วิกิพีเดียพึ่งพาการบริจาคและเงินอุดหนุนในการให้บริการ โปรดพิจารณาบริจาคผ่านลิงก์ บริจาคให้วิกิพีเดีย ทางซ้ายมือ เพื่อช่วยเหลือค่าดำเนินการและขยายโครงการ

บทความแรกของคุณ



ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย!

หน้านี้มีความมุ่งหมายชี้แนะสิ่งสำคัญที่คุณควรทราบก่อนสร้างบทความสารานุกรมแรกของคุณ ก่อนที่จะบอกขั้นตอนในการสร้างบทความให้กับคุณ ด้านล่างนี้เป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยคุณในการเขียน:
  1. วิกิพีเดียครอบคลุมเนื้อหาเฉพาะบทความบางประเภท ถ้าหัวเรื่องนั้นน่าจะเหมาะสำหรับวิกิพีเดีย แล้วก็เริ่มเขียนได้เลย แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือบทความนั้นเกี่ยวข้องกับคุณหรือบางสิ่งที่คุณมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด แล้วคุณควรจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ที่เราใช้ตัดสินว่าหัวเรื่องใดเหมาะสมได้ที่นี่
  2. คุณไม่จำเป็นต้องล็อกอินหรือมีบัญชีผู้ใช้ในการสร้างบทความ ถ้าคุณไม่ต้องการสร้างบทความนั้นด้วยตัวเอง คุณอาจขอให้ผู้อื่นสร้างบทความให้ ดูที่ วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ
  3. ก่อนเริ่มบทความ ลองแก้ไขบทความที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้คุ้นเคยกับการเขียนและการใช้ภาษามาร์กอัพของวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับลองเสิร์ชวิกิพีเดียดูก่อนว่ามีบทความในหัวเรื่องเดียวกันอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ บางทีบทความนั้นอาจจะมีอยู่แล้ว เพียงแต่ใช้ชื่อแตกต่างกันเท่านั้น หากบทความนั้นมีอยู่แล้ว โปรดทำตัวตามสบายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทความนั้นอย่างสร้างสรรค์
  4. รวบรวมแหล่งอ้างอิง เพื่อประโยชน์ทั้งใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศที่คุณกำลังจะเพิ่ม และเพื่อแสดงความโดดเด่นของหัวเรื่องบทความ การอ้างอิงไปยังบล็อก เว็บไซต์ส่วนตัว มายสเปซ และยูทูบ ไม่นับ เราต้องการแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งข้อมูลที่เข้าประเด็นคือหาข้อมูลที่มาจากไซต์ที่ลงท้ายด้วย .gov, .org หรือ .edu หรือบทความข่าวที่น่าเชื่อถือ และควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการเขียนบทความเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แน่ใจว่ามีแหล่งอ้างอิงประกอบเสมอ บทความประเภทนี้ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบ
  5. ลองขอความเห็นตอบรับ คุณอาจขอความเห็นตอบรับได้ในหลายที่ รวมทั้งหน้าอภิปราย หรือโครงการต่าง ๆ หรือผู้ใช้คนใดคนหนึ่งโดยตรง
  6. ลองเขียนบทความในหน้าผู้ใช้ส่วนตัวก่อน หลังจากที่คุณลงทะเบียนแล้ว คุณจะมีหน้าผู้ใช้เป็นของตัวคุณเอง คุณสามารถเริ่มต้นเขียนบทความใหม่ได้ที่นั่น ในหน้าย่อย คุณสามารถพัฒนาบทความจนเป็นรูปเป็นร่าง ใช้เวลา ขอผู้ใช้คนอื่นให้ช่วยเหลือคุณ และ "เปิดตัว" บทความของคุณในวิกิพีเดียเมื่อบทความพร้อม
พึงระลึกว่าหากบทความของคุณไม่อาจยอมรับได้ จะถูกลบอย่างรวดเร็ว วิกิพีเดียมีผู้ใช้คอยตรวจสอบบทความใหม่ไม่นานหลังคุณสร้างบทความ
  • บทความที่ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของเนื้อหาและไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมีแนวโน้มว่าจะถูกลบ
  • อย่าสร้างบทความเกี่ยวกับตัวคุณเอง ตลอดจนบริษัท กลุ่ม วงดนตรีหรือเพื่อนของคุณ ไปจนถึงหน้าที่มีเนื้อหาโฆษณา หรือเป็นเรียงความส่วนบุคคล หรือบทความอื่น ๆ ที่คุณจะไม่สามารถพบเห็นได้ในสารานุกรม
  • พึงระวังเมื่อเขียนบทความที่ลอกมาจากแหล่งอื่น เนื้อหาที่ยังเป็นที่ถกเถียง บทความที่มีเนื้อหาสั้นมาก ๆ และเนื้อหาที่เป็นที่สนใจเฉพาะในท้องถิ่น
นาย ภานุเดช แสนบุญมี เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ 2539 ปัจจุปันอยู่บ้านเลขที่ 200 หมู่ 5 บ้านนาสีนวล ตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร การศึกษา ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

วิธีการสมัคร เพื่อใช้งาน


คลิกเลือกไปที่สร้างบัญชีผู้ใช้




กรอกข้อมูลเพื่อนสมัครเข้าใช้งาน



วิธีสร้างบทความใหม่

ทั้งผู้ใช้ล็อกอินและไม่ล็อกอินต่างก็สามารถสร้างบทความได้ แต่คุณยังสามารถเสนอให้เขียนบทความได้ใน วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ

ชื่อเรื่องสำหรับบทความใหม่ของคุณ

ในกล่องค้นหาด้านล่าง พิมพ์ชื่อบทความของคุณ แล้วคลิก "ไป" หากหน้าค้นหารายงานว่า "คุณอาจสร้างหน้านี้ได้" ตามด้วยชื่อบทความสีแดง แล้วคุณสามารถคลิกชื่อบทความสีแดงและเริ่มต้นแก้ไขบทความได้
ยังไม่มีบทความนี้?
พิมพ์ชื่อ แล้วคลิก "ไป (ลองชื่อเรื่อง)"
* ค้นหาชื่อที่ใกล้เคียง
อาจมีหรือไม่มีบทความในชื่อเดียวกับที่คุณต้องการจะเขียน
การที่ไม่มีบทความชื่อเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ไม่มีบทความอยู่ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การค้นหาช่วยได้

การจัดการบทความที่ชื่อซ้ำกัน

บางครั้งมีบทความในชื่อที่เขียนเลือกแล้ว แต่เป็นหัวข้อที่ต่างออกไป ในกรณีนี้ หัวเรื่องจะต้องแยกออกจากกัน กระบวนการแยกชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกันออกจากกันซึ่งความหมายแตกต่างกันชัดเจนนั้น เรียกว่า "การแก้ความกำกวม" มือใหม่อาจสับสน ถ้าจำเป็น สร้างหน้าของคุณเป็นร่างในหน้าผู้ใช้ จากนั้นถามที่เลขาชาววิกิพีเดีย ให้ช่วยเหลือในการแก้ไขความกำกวม
มีสามหนทางหลักในการแก้ความกำกวม ขึ้นอยู่กับมีหัวข้อมากเท่าใดและมีอย่างใดสำคัญมากกว่าที่เหลือมาก
  • หน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ซัลซา" คุณจะถูกนำไปยังหน้าแก้ความกำกวมซึ่งมีหัวเรื่องทั้งหมดที่ชื่อว่า "ซัลซา" รวมทั้ง ซัลซา (ซอส), ซัลซา (แนวดนตรี) และความหมายอื่นอีกมากที่มีคำว่า ซัลซา
  • การใช้หลัก ในบางกรณี ชื่อโดยตัวของมันเองจะใช้เป็นชื่อความหมายที่ใช้กันมากที่สุดของคำนั้น ("การใช้หลัก") และการใช้อย่างอื่นทั้งหมดจะพบในหน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ไทย" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับประเทศไทย ส่วนการใช้อย่างอื่น เช่น ชาวไทย ทำรายการไว้ในหน้าแก้ความกำกวม
  • เพียงสองหัวข้อ ในบางกรณี ถ้าหัวข้อนั้นมีเพียงสองความหมาย ชื่อเรื่องเพียงอย่างเดียวควรใช้สำหรับความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายทั่วไปกว่า และมีข้อความไว้บนสุดของหน้านั้น จะถูกใช้เพื่อนำผู้อ่านไปยังอีกบทความหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพิมพ์คำว่า "กรุงเทพมหานคร" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับเมืองหลวงของประเทศไทย และจะมีลิงก์นำคุณไปยังกรุงเทพมหานคร ที่เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ใส่แหล่งอ้างอิง

สิ่งแรก ๆ ที่คุณควรเขียนในบทความของคุณ คือ รายการแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศของคุณ สำหรับตอนนี้ แค่ใส่ลิงก์แบบด้านล่างนี้ (ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นลิงก์โดยอัตโนมัติ):
(1) http://www.nytimes.com/2007/04/12/books/12vonnegut.html
(2) http://www-03.ibm.com/ibm/history/exhibits/space/space_shuttle.html
ภายหลัง คุณจะเรียนรู้วิธีการจัดรูปแบบให้ปรากฏเป็นเชิงอรรถ
จะเป็นการดีกว่าหากคุณยังไม่คล่อง ในการสร้างบทความของคุณในหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้คุณ ที่ซึ่งคุณสามารถใช้เวลานานได้เท่าที่ต้องการในการทำให้มันเป็นบทความที่ดี จากนั้นค่อยย้ายไปลงในสเปซบทความหลัก คุณสามารถสร้างหน้าทดลองเขียน ("กระบะทราย") ส่วนตัวเพื่อพัฒนาบทความโดยคลิกลิงก์นี้ อย่างไรก็ดี แม้ในบทความสเปซผู้ใช้ หัวข้อที่ไม่อาจยอมรับได้ก็อาจถูกเสนอให้ลบได้

จัดหมวดหมู่

ทุกบทความควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งในวิกิพีเดีย ในการค้นหาหมวดหมู่สำหรับบทความของคุณ ไปที่ หมวดหมู่:มูลฐาน และคลิกหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นตามลิงก์หมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องไปเรื่อย ๆ ให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามลำดับหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเพิ่มการประกาศหมวดหมู่ โดยเขียน [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]] ที่ท้ายบทความของคุณสำหรับแต่ละหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องของมันเอง

ขั้นสุดท้าย

หลังจากคุณเสร็จสิ้นแล้ว คลิก ดูตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด จากนั้นคลิก บันทึก

หลังสร้างบทความ

ตอนนี้เมื่อคุณได้สร้างหน้าไปแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิกิพีเดียเป็นงานที่ไม่เสร็จ โดยทั่วไปแล้ว บทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ๆ นั้นห่างไกลจากคำว่าเสร็จสมบูรณ์ มากนัก ยังมีหนทางอีกยาวไกล อันที่จริง คุณอาจต้องแก้ไขหลายรอบ แต่บทความก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
หากคุณมีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับบทความที่คุณเพิ่งสร้าง คุณอาจเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต และดังนั้น มีข้อมูลให้เพิ่มเติมอีก ซึ่งอาจคุณอาจกลับมาทีหลังวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรืออีกหลายเดือนหลังจากนี้ ได้ทุกเวลา เอาเลย

ความครอบคลุมของเนื้อหา


แผนภูมิวงกลมแสดงเนื้อหาวิกิพีเดียแบ่งตามประเภท เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551
วิกิพีเดียตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างบทสรุปความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ในรูปแบบสารานุกรมออนไลน์ โดยมีหัวข้อความรู้แต่ละหัวข้อครอบคลุมหนึ่งบทความอย่างเป็นสารานุกรม เนื่องจากวิกิพีเดียมีเนื้อที่ไม่จำกัดอย่างแท้จริง จึงสามารถบรรจุเนื้อหาได้มากกว่าสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่าทุกเล่มที่เคยมีมา นอกจากนี้ยังบรรจุสื่อหรือเนื้อหาที่บางคนอาจมองว่าน่ารังเกียจ ก้าวร้าว หรือลามกอนาจาร วิกิพีเดียแสดงจุดยืนชัดเจนว่านโยบายดังกล่าวมิได้มีไว้เป็นข้อโต้เถียงกัน และนโยบายดังกล่าวบางครั้งก็พิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นบ่อยครั้ง อย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2551 วิกิพีเดียปฏิเสธรับการร้องเรียนออนไลน์ต่อต้านการสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงภาพวาดนบีมุฮัมมัดในรุ่นภาษาอังกฤษ โดยอ้างนโยบายดังกล่าว การมีอยู่ของสื่อที่อ่อนไหวทางการเมืองในวิกิพีเดียนำไปสู่การบล็อกการเข้าถึงวิกิพีเดียของสาธารณรัฐประชาชนจีน[74] และอาจรวมไปถึงมูลนิธิเฝ้าระวังภัยอินเทอร์เน็ต
จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 วิกิพีเดียมีบทความเนื้อหาครอบคลุมถึงสถานที่เกือบครึ่งล้านแห่งบนโลก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซ์ฟอร์ดได้แสดงให้เห็นว่า บทความภูมิศาสตร์นี้กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่เสมอกันอย่างมาก บทความส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออก และมีส่วนน้อยมากที่กล่าวถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา รวมไปถึงส่วนใหญ่ของแอฟริกา[75]
การศึกษาวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนและศูนย์วิจัยพาโลอัลโต ได้จำแนกจำนวนบทความแบ่งตามประเภท ตลอดจนอัตราการเพิ่มจำนวน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงมกราคม พ.ศ. 2551 ไว้ดังนี้[73]
  • ศิลปวัฒนธรรม: 30% (210%)
  • ชีวประวัติและบุคคล: 15% (97%)
  • ภูมิศาสตร์และสถานที่: 14%(52%)
  • สังคมและสังคมศาสตร์: 12% (83%)
  • ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์: 11% (143%)
  • ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์กายภาพ: 9% (213%)
  • เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์: 4% (−6%)
  • ศาสนาและระบบความเชื่อ: 2% (38%)
  • สุขภาพ: 2% (42%)
  • คณิตศาสตร์และตรรกะ: 1% (146%)
  • ความคิดและปรัชญา: 1% (160%)
อย่างไรก็ดี พึงตระหนักจำนวนเหล่านี้หมายถึงจำนวนบทความ ซึ่งบางบทความอาจจะสั้นมาก ขณะที่บางบทความอาจมีความยาวมากก็ได้
การครอบคลุมที่แน่นอนของวิกิพีเดียยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของผู้ร่วมพัฒนา และความไม่เห็นด้วยว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะมีในวิกิพีเดียหรือไม่ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด[76][77]

ความน่าเชื่อถือ

ผลที่ตามมาจากโครงสร้างที่เปิดกว้างให้แก้ไขได้ของวิกิพีเดียนั้น ทำให้วิกิพีเดีย "ไม่มีการรับประกันถึงความถูกต้อง" ของเนื้อหา เพราะในท้ายที่สุดแล้วไม่มีผู้ใดรับผิดชอบต่อข้อความใด ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเว็บ ได้มีความกังวลซึ่งมุ่งประเด็นไปยังการขาดความตรวจสอบได้อันเป็นผลมาจากการปิดบังชื่อของผู้ใช้[82] การสอดแทรกข้อมูลปลอม[83] การก่อกวน และปัญหาที่คล้ายกัน
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่ลำเอียงอย่างเป็นระบบและมีความไม่สอดคล้องกัน[13] นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงอย่างเหมาะสมในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ[84] นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่แน่หากคิดเฉพาะความน่าเชื่อถือของบทความใดบทความหนึ่งเป็นการเฉพาะ[12] บรรณาธิการของงานอ้างอิงแบบเก่า อย่างเช่น สารานุกรมบริตานิกาได้ตั้งคำถามถึงประโยชน์ใช้สอยของโครงการและสถานะความเป็นสารานุกรม[85] อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า[86] บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย[87] ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรวางใจว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้[88]
อย่างไรก็ตาม การสำรวจซึ่งรายงานในวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 เสนอว่าบทความวิทยาศาสตร์วิกิพีเดียมีระดับความถูกต้องแม่นยำใกล้เคียงกับของสารานุกรมบริตานิกา และมีระดับ "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ที่ใกล้เคียงกัน[17] การอ้างดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยสารานุกรมบริตานิกา[89][90]
นักเศรษฐศาสตร์ ไทเลอร์ โคเวน เขียนว่า "ถ้าผมต้องเดาว่าระหว่างวิกิพีเดียหรือบทความเศรษฐศาสตร์ระดับกลางในฐานข้อมูลระดับชาติว่าอย่างไหนมีความถูกต้องมากกว่ากัน ผมคิดไม่นานก็ตัดสินใจได้ว่าผมจะเลือกวิกิพีเดีย" เขาให้ความเห็นว่างานอ้างอิงแบบเก่าที่ไม่ใช่บันเทิงคดีนั้นประสบปัญหาลำเอียงอย่างเป็นระบบด้วยกันทั้งสิ้น ข้อมูลใหม่ ๆ มักจะได้รับรายงานมากเกินงามในบทความวารสาร และข้อมูลเกี่ยวข้องกันก็ได้เผยแพร่ในรายงานข่าว อย่างไรก็ตาม เขายังได้เตือนว่าข้อผิดพลาดนั้นมักพบได้บ่อยบนอินเทอร์เน็ต และว่านักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจะต้องตื่นตัวในการแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้[91]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บทความในหนังสือพิมพ์เดอะฮาร์วาร์ดคริมสัน รายงานว่าศาสตราจารย์บางคนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใส่วิกิพีเดียเข้าไปในบทคัดย่อของตนด้วย แต่มีความไม่ลงรอยกันในความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้วิกิพีเดีย[92] เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 อดีตประธานสมาคมหอสมุดอเมริกัน ไมเคิล กอร์แมน ประณามวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับกูเกิล[93] โดยกล่าวว่า นักวิชาการผู้สนับสนุนการใช้วิกิพีเดียนั้น "มีสติปัญญาเท่ากับนักโภชนาการที่แนะนำให้คนกินบิ๊กแม็คกับอาหารทุกรายการอย่างต่อเนื่อง" เขากล่าวต่อว่า "รุ่นของคนมีปัญญาเฉื่อยชาผู้ไม่สามารถก้าวข้ามอินเทอร์เน็ตได้" กำลังถูกผลิตจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขายังตำหนิว่าแหล่งข้อมูลที่เป็นเว็บนั้นทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ขวนขวายที่จะเรียนรู้จากข้อมูลที่สืบค้นได้ยากกว่าซึ่งมักพบเฉพาะในเอกสารตีพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่บอกรับเป็นสมาชิกเท่านั้น ในบทความเดียวกัน เจนนี ฟราย นักวิจัยแห่งสถาบันอินเทอร์เน็ตอ็อกซ์ฟอร์ด ให้ความเห็นเกี่ยวกับนักวิชาการซึ่งอ้างวิกิพีเดีย โดยกล่าวว่า
คุณไม่สามารถพูดได้ว่าเด็ก ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเกียจคร้านในการใช้สมอง ในเมื่อนักวิชาการก็ใช้เสิร์ชเอนจินในงานวิจัยของตัวเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างก็คือพวกเขามีประสบการณ์มากกว่าในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ได้รับมาคืออะไรและข้อมูลนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เราต้องสอนเด็ก ๆ ให้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นและเหมาะสม[93]


วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์!!

   ไวรัสที่สามารถเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้นั้นมีหลากหลายชนิด หลากหลายวิธีที่แตกต่างกันไป บางชนิดก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อาจไปถึงขึ้นทำให้สูญเสียทรัพย์สินโดยไม่รู้ตัว หรือบางตัวอาจเป็นเพียงแค่ไวรัสที่เข้ามาก่อกวนระบบการทำงานเพียงเล็กน้อย.
    สำหรับBlogของเราในวันนี้จะขอนำเสนอเพื่อยกตัวอย่างวิธีการทำงานและวิธีการป้องกันของไวรัส2ชนิด ที่จะเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้

เวิร์ม มักลงท้ายด้วยนามสกุล @Werm, @Wrm.


       โทรจัน มักบอกชื่อเป็นโทรจัน เช่น Trojan/Wukilbro.@...

>>ม้าโทรจัน<< (Trojan Horse)

     Trojan-PSW.Win32.Kates.j .c ตัวการที่ทำให้หน้าจอมืดเหลือแต่เม้าส์ มันเป็นยังไงมาดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเจ้าไวรัสโ ทรจัน Trojan-PSW.Win32.Kates.j .c รวมถึงวิธีแก้ไขปัญหานี้กันสำหรับไวรัสโทรจัน Trojan-PSW.Win32.Kates.j .c (ค่าย Kaspersky เค้าเรียกแบบนี้) ผมขอเรียกสั้นๆว่า ไวรัส midi9 ละกันนะครับ(เดี๋ยวจะบอกอีกทีว่าทำไมถึงเรียกมันด้วยชื่อนี้) ส่วนค่ายอื่นๆ ก็มชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
 
     ชื่อเรียกของโปรแกรมชนิดนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อแฝงเข้ากับเว็บดาวโหลดต่างๆ โดยไม่ได้รับการยินยิมจากผู้ใช้ เมื่อเราได้ทำการดาวโหลดโปรแกรมที่มีไวรัสชนิดนี้แฝงตัวอยู่ ม้าโทรจันก็จะทำการทำอันตรายกับข้อมูลในเครื่อง หรือลอบเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ บัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิตของเราไปได้


 
 
อาการของเครื่องที่ติดไวรัส

   อาการของเครื่องที่ติดไวรัสโทรจันTrojan-PSW.Win32.Kates.j .c
โดยหากเครื่องคอมฯ ติดเชื้อไวรัสโทรจันTrojan-PSW.Win32.Kates.j .c เข้า จะมีอาการดังต่อไปนี้
1. มันจะทำการเช็คดู traffic บนเน็ตเวิร์คของเรา
2. เวลาเข้าหน้า browser มันจะ redirect ส่งไปยังหน้าเว็บ search เช่น google.com, search.yahoo.com, bing.com เป็นต้น
3. แอบดักจับหรือขโมยข้อมูลสคัญผ่านทางการ FTP
4. บล๊อกไม่ให้เข้าเว็บสแกนไวรัสออนไลน์หรือกันไม่ให้เร าเปิดโปรแกรม Antivirus ได้
5. รวมไปถึงทำการส่งปรับแต่งค่าต่างๆของวินโดวส์ ซึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อเปิดเครื่องคอมฯเพื่อใช้งาน จะเข้าใช้งานวินโดวส์ไม่ได้ โดยจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาแล้ว ค้างเป็นหน้าจอสีดำและมีแต่เม้าส์เท่านั้น ดังรูป

  อาการที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดคือ เมื่อเปิดเครื่องคอมเพื่อที่จะใช้งาน จะไม่สามารถเข้าใช้งานWindowsได้ โดยเวลาที่เราบู๊ดเครื่องขึ้นมาแล้วนั้น จะค้างเป็นหน้าจอสีดำ และมีเพียงแต่เม้าส์เท่านั้น



วิธีการป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น    

    ทำให้เปลืองพลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะมีการทำงานผิดพลาดเนื่องจากไวรัสชนิดนี้ทำให้อุปกรณ์เปิดใช้งานไม่ได้ ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ควรตรวจสอบโปรแกรมต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือหากเป็นโปรแกรมที่ไม่น่าไว้วางใจก็ควรลบออกทันที ไม่ควรเปิดใช้งานบลูทูธในที่สาธรณะเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากไวรัสชนิดนี้


 
วิธีที่ 1. ใช้่ Hirens Boot CD จัดการลบคีย์midi9 ในรีจีสทรี ซี่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1 ให้บู๊ตเครื่องด้วยแผ่นบู๊ตพวก Hirens Boot CD, Windows PE หรือ Bart PE ในที่นี่ขอแนะนำ Hirens Boot CD เพราะมันจะมีWindows PE หรือ Mini Windows XP อยู่ด้วย แถมด้วยเครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆที่ครบครัน แต่ถ้าใครที่ยังไม่มีHirens Boot CD(แนะนำว่าควรมีไว้ประจำตัว ประจำเครื่องครับ) สามารถดาวน์โหลด รวมทั้งวิธีเขียนแผ่นได้ที่ลิงค์
http://thaiwinadmin.blogspot.com/2009/08/hiren-s-bootcd-10-0.html
1.2 เมื่อบู๊ตเครื่องด้วยแผ่น Hirens Boot CD แล้วจะมีหน้าจอ ดังรูป ให้เลือกที่เมนู Hirens ดังรูป
 
 
1.3 จากนั้นจะมีมเนูปรากฏขึ้นมาให้เลือกอีก ให้เลือก Start Mini Windows XP ดังรูป
 
 
 
 
1.4 เมื่อบู๊ตเข้า Mini Windows XP ได้แล้ว ให้ไปที่ Sart > Run > แล้วพิมพ์ว่า regedit แล้วกด OK

 
 
1.5 เมื่อหน้าจอ Registry Editor ปรากฏขึ้นมา ให้คลิกที่ HKEY_LOCAL_MACHINE ดังรูป
 
 
1.6 จากนั้นให้ไปที่เมนู File > คลิกเมู Load Hive แล้วให้เลือก Browse ไปที่ c:\windows\system32\config แล้วคลิกเลือกที่ไฟล์ชื่อ software แล้วกด Open ดังรูป
 
 
1.7 จะมีกล่องข้อความขึ้นมา ให้พิมพ์ใส่ชื่อคีย์อะไรก็ได้ ในที่นี้จะใส่เป็น x แล้วกด OK ดังรูป
 
 
1.8 จากนั้นให้คลิกไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\x\Microsoft\Windows NT\CurrentVersion\Drivers32 แล้วหาค่าีย์ midi9 เมื่อเจอแล้วให้คลิกขวา > เลือก delete หรือกดปุ่ม delete ที่คีย์บอร์ดก็ได้ ดังรูป
 
 
1.9 จากนั้นก็ปิดหน้าจอ Register Editor ออกไป แล้วรีสตาร์ทเครื่อง

 
>>สอนแก้เมื่อไวรัสชนิดนี้เข้าเครื่อง<<





>>หนอน<< (worm) WORM_NUWAR.CQ [Trend Micro]

    แยกย่อยออกมาจาก ไวรัส โดยปกติ หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยเร็ว โดยจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่ายได้ เช่น  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิด ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดความเสียหาย หรือใช้งานไม่ได้ 


อาการของเครื่องที่ติดไวรัส

   หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำให้คอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากหนอนคอมพิวเตอร์จะเข้าไปทำลายข้อมูลที่จำเป็นในเครื่องคอมพิวเตอร์ จนทำให้วินโดวส์เกิดความเสียหาย จะทำการสร้างไฟล์ exe ขึ้นมาจำนวนมากแล้วทำการแพร่กระจายผ่านทาง network หรือ flash drive 
 
 

วิธีการป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น

-ไม่เปิดโปรแกรม หรือ อีเมลล์ต่างๆ จากแหล่งที่มาที่ไม่น่าวางใจ 
-ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและ อัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่ตลอด
และติดตั้ง Fire Wall
-ควรลบe-mail ที่สงสัยว่ามีไวรัสแนบมา รวมทั้ง e-mail ลูกโซ่ทิ้ง
-ห้าม Run Fire ที่แนบมากับ e-mail ซึ่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก และไม่รู้ว่าไฟล์นั้น เป็นไฟล์อะไร





                                  >>สอนแก้เมื่อไวรัสชนิดนี้เข้าเครื่อง<<





การป้องกัน

   โปรแกรมป้องกันไวรัส (Antivirus Software) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอ มพิวเตอร์ (ต่อจากนี้จะเรียกว่าไวรัส) จากผู้ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ต โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบใหญ่ๆ

1. แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆ ไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
2. แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adware ซึ่งเป็นป๊อบอัพโฆษณาอีกด้วย

โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยต รง แต่ในทุกๆ วันจะมีไวรัสชนิดใหม่
เกิดขึ้นเสมอ ทำให้เราต้องอัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษั ทจะมีการอัพเดทและการป้องกันไม่เหมือนกัน แต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีโปรแกรมป้องกัน ไวรัส 2 ตัว เพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานไ ด้ 

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

กรุ๊ป AB นักชีวจิต

เรื่องน่ารู้!!
คนที่มีกรุ๊ปเลือดเอบี
กรุ๊ป AB นักชีวจิตตัวน้อย 
กรุ๊ปนี้เป็นการผสมผสานระหว่างกรุ๊ปเลือด A กับ B ดังนั้นวิธีการกินที่เหมาะสมกับคนกรุ๊ปนี้เป็นการผสมผสานการกินมังสวิรัติ กับการกินแบบกรุ๊ปบี คนที่มีเลือดกรุ๊ปนี้มีจุดอ่อนเรื่องสุขภาพอยู่ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และกรดในกระเพาะต่ำ

อาหารที่เหมาะกับกรุ๊ปเลือด
เนื้อสัตว์ : ควรทานเนื้อสัตว์พวกเนื้อแกะ แพะ ไก่งวง อาหารทะเลจาก ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาเก๋า ปลาทูน่า รวมทั้งการทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และเต้าหู้ ก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ผัก : ผักสด เช่น บร็อกโคลี่ แตงกวา กระเทียม ดอกกะหล่ำ และผักใบเขียวต่างๆ
ผลไม้ : ควรทาน ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้มโอ เชอร์รี่ ตระกูลเบอร์รี่ สับปะรด องุ่น พลัม ฯลฯ เพราะช่วยสร้างความสมดุลของกรดในเนื้อเยื่อ หลีกเลี่ยงผลไม้เมืองร้อน เพราะย่อยยาก
เครื่องดื่ม : การดื่มชาคาโมมายล์และชาเขียวช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน
เคล็ดลับการลดน้ำหนัก: ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักใบเขียว ข้าวโอ๊ต เพราะช่วยระบบหมุนเวียนของน้ำตาลในเลือด

วิธีการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายแบบไม่ต้องใช้แรงมาก สลับกับ การออกกำลังกายแบบใช้แรงปานกลาง 

Cardio


กรุ๊ป O Meat eaters

เรื่องน่ารู้!!
คนที่มีกรุ๊ปเลือดโอ

กรุ๊ป O Meat eaters

ปัญหาของคนเลือดกรุ๊ปนี้คือ กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูง สามารถย่อยอาหารจำพวกเนื้อได้ดีกว่าเลือดกรุ๊ปอื่ แต่ระบบการเผาผลาญไม่ค่อยดี ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่ค่อยคงที่ จึงทำให้อ้วนง่าย ตามติดมาด้วยปัญหาเลือดแข็งตัวช้า

อาหารที่เหมาะกับกรุ๊ปเลือด
เนื้อสัตว์ : รับประทานเนื้อได้แทบทุกชนิด ยกเว้น เนื้อหมู  เพราะมีไขมันสูง อย่าลืมรับประทานอาหารทะเล เช่น ปลาทูและเกลือไอโอดีนมาก ๆ เพื่อป้องกันโรคเลือดไม่แข็งตัว และไทรอยด์ แต่ระวังเรื่องไขมันและโคเรสเตอรอลด้วย  
ผัก : ผักที่ดีต่อสุขภาพ คือ ผักบร็อกโคลี่ ผักกาดคอส (ในซีซาร์สลัด) ปวยเล้ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ และสาหร่ายทะเล ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ เพราะไปก่อกวนการทำงานของไทรอยด์ 
ผลไม้ : รับประทานผลไม้ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ หรือ ผลไม้ที่มีสีแดงเข้มหรือสีม่วงซึ่งมีความเป็นด่างสูง เช่น ลูกพรุน ลูกพลัม จะช่วยสร้างสมดุลให้ระดับกรดในกระเพาะอาหารได้ หลีกเลี่ยงส้ม  เพราะทำให้กระเพาะระคายเคือง
เครื่องดื่ม : ไม่ควรดื่มชา กาแฟ เบียร์ เพราะจะไปเพิ่มปริมาณกรดในกระเพาะ  กรุ๊ปโอไม่รับแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นม จึงต้องหาแคลเซียมจากที่อื่นแทนซึ่งนั่นก็ได้แก่ ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาแซลมอน หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม
วิตามิน: กรุ๊ปโอมีปัญหาเลือดแข็งตัวช้า การรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงจะช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ เช่น ตับ ไข่แดง คะน้า ผักโขม บร็อกโคลี่ และปัญหาระบบการเผาผลาญในร่างกาย จึงควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี เช่น เนื้อ ตับ ไข่ ผลไม้ ผักใบเขียวและถั่ว หรือทานอาหารเสริมที่มีวิตามินบีเป็นส่วนประกอบ
เคล็ดลับการลดน้ำหนัก : ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกถั่ว ธัญพืช และขนมปัง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักขึ้นง่ายกว่าปกติ

วิธีการออกกำลังกาย
ต้องใช้แรงและความรวดเร็ว เช่น เต้นแอโรบิค ยกน้ำหนัก ปั่นจักรยาน

Aerobic



กรุ๊ป B กินง่ายๆแค่ให้บาลานซ์

เรื่องน่ารู้!!
คนที่มีกรุ๊ปเลือดบี
กรุ๊ป B กินง่ายๆแค่ให้บาลานซ์
คนที่มีเลือดกรุ๊ปนี้ ส่วนใหญ่มีปัญหากับไวรัส และภูมิคุ้มกันบกพร่อง ระบบประสาทไม่ค่อยดี ชอบปวดตามข้อ ซึ่งไม่ใช่อาการของเกาต์หรือรูมาตอยด์ มีโอกาสเกิดโรคแผลในสมอง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เลือดกรุ๊ปบีมีความสมดุล คือไม่ข้นหรือเหลวเกินไป จึงเลือกรับประทานอาหารได้หลากหลายครอบคลุมทุกหมู่  

อาหารที่เหมาะกับกรุ๊ปเลือด
เนื้อสัตว์ : เนื้อแพะ แกะ ไก่งวง แม้จะหารับประทานยากสักหน่อยแต่ก็ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้มาก ควรหลีกเลี่ยงไก่และไข่ เพราะมีเล็คติคไปเกาะกับเซลล์เลือด ปลาทะเลน้ำลึกที่ดีต่อร่างกาย คือ ปลาแซลมอนและปลาหิมะ

ผัก : รับประทานผักใบเขียวมาก ๆ จะช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงมะเขือเทศ เพราะมีเล็คติคซึ่งไปก่อกวนระบบย่อย ขัดขวางระบบเผาผลาญแคลอรีและระดับน้ำตาลในเลือด
ผลไม้ : สับปะรดมีเอนไซม์ช่วยให้ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น และกล้วยที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย

เครื่องดื่ม : ชาสมุนไพรที่ดีคือ ชาเขียว ขิง เปปเปอร์มิ้นต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโสม จะช่วยบำรุงระบบประสาท
เคล็ดลับการลดน้ำหนัก : กุญแจสำคัญ คือ มันฝรั่ง ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง และสับปะรด เพราะมีไฟเบอร์สูงและช่วยระบบหมุนเวียนของน้ำตาลในเลือด แต่ไม่ควรรับประทานข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว และงา เพราะเป็นต้นเหตุให้ระบบเผาผลาญแคลอรีทำงานช้าและน้ำหนักขึ้นได้ง่าย

วิธีการออกกำลังกาย
เน้นการออกแบบใช้แรงปานกลาง ไม่หนักเท่ากับสาวเลือดกรุ๊ปโอ แต่ควรหนักกว่าสาวเลือดกรุ๊ปเอ เช่น ว่ายน้ำ 
บอดี้คอมแบต ศิลปะป้องกันตัว

Body Combat 


กรุ๊ป Aนักมังสวิรัติ

คุณรู้หรือไม่?  วิธีการใดที่จะช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

ก่อนอื่นเราต้องรู้ถึงที่มาโดยคร่าวๆของการลดน้ำหนักตามกรุ๊ปเลือดนี้สะก่อน !!

   การรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือดเป็นผลมาจากงานวิจัยของแพทย์ชาวอเมริกัน ซึ่งพบว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับกรุ๊ปเลือดจะช่วยสร้างสมดุลที่ดี ที่สุดให้แก่ร่างกาย ภูมิต้านทาน ระบบย่อย รวมถึงการลดน้ำหนักและเพิ่มพละกำลัง ที่สำคัญช่วยทำให้ไม่แก่เร็วอีกด้วย

เรื่องน่ารู้ !!

  
คนที่มีกรุ๊ปเลือดเอ
กรุ๊ป Aนักมังสวิรัติดีๆนี่เอง
คนเลือดกรุ๊ปนี้ส่วนใหญ่จะมีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ ทำให้ระบบการย่อยไม่ค่อยดี ระบบภูมิคุ้มกันก็ไม่ดี เลือดค่อนข้างเหนียวข้น เมื่อรับประทานเนื้อสัตว์และไขมันเข้าไปจะยิ่งเพิ่มความข้นของเลือดทำให้เลือดไหลเวียนช้า หัวใจก็ทำงานหนักมากขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งและเบาหวาน

อาหารที่เหมาะกับกรุ๊ปเลือด
เนื้อสัตว์ : เนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ดี จึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดในปริมาณน้อย ควรทานปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ปลากะพง  หรือดื่มนมถั่วเหลือง นมแพะ หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ แทนนมวัว และตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เมล็ดฟักทองและเต้าหู้ เพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์ได้


    ผัก:ควรรับประทานทานผักที่มีกากใยช่วยเรื่องปัญหาระบบย่อยและเสริมภูมิต้านทาน เช่น บร็อกโคลี่ แครอท กระเทียม หัวฟักทอง และผักโขม


ผลไม้ : รับประทานได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นมะม่วง มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะทำให้ระคายเคืองกระเพาะ และเป็นตัวการขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน 
เครื่องดื่ม : ดื่มกาแฟได้ (วันละหนึ่งแก้ว) เพื่อช่วยเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร แต่ไม่ควรดื่มนม เบียร์และโซดา
เคล็ดลับการลดน้ำหนัก : หากรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือดสม่ำเสมอ จะสามารถลดน้ำหนักลงเองโดยอัตโนมัติ แถมยังได้เพิ่มภูมิ
ต้านทานร่างกายอีกด้วย



วิธีการออกกำลังกาย
ให้เน้นไม่ต้องใช้แรงมาก แต่ใช้เวลานานหน่อย และควรเป็๋นการออกกำลังกายที่ใช้สมาธิ เช่น โยคะ หรือ การเดินช้าๆ เราอาจจะลองมองหาคลิปวีดีโอที่ใช้สำหรับสอนวิธีการต่างๆในการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และ ความสนุกสนานมากขึ้น....