วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 Wikipedia


อะไรคือวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ซึ่งผู้ที่ใช้วิกิพีเดียร่วมกันเขียน วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์พิเศษที่ออกแบบมาให้การร่วมมือเป็นไปโดยง่าย ที่เรียกว่า วิกิ คนจำนวนมากพัฒนาวิกิพีเดียสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในประวัติหน้าและหน้าปรับปรุงล่าสุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ดูที่ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย


จะช่วยได้อย่างไร
อย่ากลัวที่จะแก้ไข — ทุกคนสามารถแก้ไขได้แทบทุกหน้า และเราสนับสนุนให้คุณกล้า! หาสิ่งที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น การสะกด ไวยากรณ์ การเขียนใหม่ให้อ่านเข้าใจง่าย การเพิ่มเนื้อหา หรือการนำการแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์ออก หากคุณต้องการเพิ่มข้อเท็จจริงใหม่ โปรดหาแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันข้อเท็จจริงนั้นได้ หรือเสนอข้อเท็จจริงในหน้าอภิปรายของบทความ ปกติควรอภิปรายก่อนการแก้ไขหัวข้อซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอยู่และหน้าหลักของวิกิพีเดีย
พึงระลึกว่า – คุณพังวิกิพีเดียไม่ได้หรอก! ทุกการแก้ไขสามารถย้อนกลับ ซ่อมแซมหรือปรับปรุงภายหลังได้ วิกิพีเดียอนุญาตให้มีข้อบกพร่อง ฉะนั้น ลุยเลย แก้ไขบทความและช่วยทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุดบนอินเทอร์เน็ตกันเถอะ!
บริจาค – คุณสามารถใช้วิกิพีเดียได้โดยไม่เสียค่าบริการ แต่วิกิพีเดียพึ่งพาการบริจาคและเงินอุดหนุนในการให้บริการ โปรดพิจารณาบริจาคผ่านลิงก์ บริจาคให้วิกิพีเดีย ทางซ้ายมือ เพื่อช่วยเหลือค่าดำเนินการและขยายโครงการ

บทความแรกของคุณ



ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย!

หน้านี้มีความมุ่งหมายชี้แนะสิ่งสำคัญที่คุณควรทราบก่อนสร้างบทความสารานุกรมแรกของคุณ ก่อนที่จะบอกขั้นตอนในการสร้างบทความให้กับคุณ ด้านล่างนี้เป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยคุณในการเขียน:
  1. วิกิพีเดียครอบคลุมเนื้อหาเฉพาะบทความบางประเภท ถ้าหัวเรื่องนั้นน่าจะเหมาะสำหรับวิกิพีเดีย แล้วก็เริ่มเขียนได้เลย แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือบทความนั้นเกี่ยวข้องกับคุณหรือบางสิ่งที่คุณมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด แล้วคุณควรจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ที่เราใช้ตัดสินว่าหัวเรื่องใดเหมาะสมได้ที่นี่
  2. คุณไม่จำเป็นต้องล็อกอินหรือมีบัญชีผู้ใช้ในการสร้างบทความ ถ้าคุณไม่ต้องการสร้างบทความนั้นด้วยตัวเอง คุณอาจขอให้ผู้อื่นสร้างบทความให้ ดูที่ วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ
  3. ก่อนเริ่มบทความ ลองแก้ไขบทความที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้คุ้นเคยกับการเขียนและการใช้ภาษามาร์กอัพของวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับลองเสิร์ชวิกิพีเดียดูก่อนว่ามีบทความในหัวเรื่องเดียวกันอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ บางทีบทความนั้นอาจจะมีอยู่แล้ว เพียงแต่ใช้ชื่อแตกต่างกันเท่านั้น หากบทความนั้นมีอยู่แล้ว โปรดทำตัวตามสบายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทความนั้นอย่างสร้างสรรค์
  4. รวบรวมแหล่งอ้างอิง เพื่อประโยชน์ทั้งใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศที่คุณกำลังจะเพิ่ม และเพื่อแสดงความโดดเด่นของหัวเรื่องบทความ การอ้างอิงไปยังบล็อก เว็บไซต์ส่วนตัว มายสเปซ และยูทูบ ไม่นับ เราต้องการแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งข้อมูลที่เข้าประเด็นคือหาข้อมูลที่มาจากไซต์ที่ลงท้ายด้วย .gov, .org หรือ .edu หรือบทความข่าวที่น่าเชื่อถือ และควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการเขียนบทความเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้แน่ใจว่ามีแหล่งอ้างอิงประกอบเสมอ บทความประเภทนี้ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบ
  5. ลองขอความเห็นตอบรับ คุณอาจขอความเห็นตอบรับได้ในหลายที่ รวมทั้งหน้าอภิปราย หรือโครงการต่าง ๆ หรือผู้ใช้คนใดคนหนึ่งโดยตรง
  6. ลองเขียนบทความในหน้าผู้ใช้ส่วนตัวก่อน หลังจากที่คุณลงทะเบียนแล้ว คุณจะมีหน้าผู้ใช้เป็นของตัวคุณเอง คุณสามารถเริ่มต้นเขียนบทความใหม่ได้ที่นั่น ในหน้าย่อย คุณสามารถพัฒนาบทความจนเป็นรูปเป็นร่าง ใช้เวลา ขอผู้ใช้คนอื่นให้ช่วยเหลือคุณ และ "เปิดตัว" บทความของคุณในวิกิพีเดียเมื่อบทความพร้อม
พึงระลึกว่าหากบทความของคุณไม่อาจยอมรับได้ จะถูกลบอย่างรวดเร็ว วิกิพีเดียมีผู้ใช้คอยตรวจสอบบทความใหม่ไม่นานหลังคุณสร้างบทความ
  • บทความที่ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของเนื้อหาและไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมีแนวโน้มว่าจะถูกลบ
  • อย่าสร้างบทความเกี่ยวกับตัวคุณเอง ตลอดจนบริษัท กลุ่ม วงดนตรีหรือเพื่อนของคุณ ไปจนถึงหน้าที่มีเนื้อหาโฆษณา หรือเป็นเรียงความส่วนบุคคล หรือบทความอื่น ๆ ที่คุณจะไม่สามารถพบเห็นได้ในสารานุกรม
  • พึงระวังเมื่อเขียนบทความที่ลอกมาจากแหล่งอื่น เนื้อหาที่ยังเป็นที่ถกเถียง บทความที่มีเนื้อหาสั้นมาก ๆ และเนื้อหาที่เป็นที่สนใจเฉพาะในท้องถิ่น
นาย ภานุเดช แสนบุญมี เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ 2539 ปัจจุปันอยู่บ้านเลขที่ 200 หมู่ 5 บ้านนาสีนวล ตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร การศึกษา ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

วิธีการสมัคร เพื่อใช้งาน


คลิกเลือกไปที่สร้างบัญชีผู้ใช้




กรอกข้อมูลเพื่อนสมัครเข้าใช้งาน



วิธีสร้างบทความใหม่

ทั้งผู้ใช้ล็อกอินและไม่ล็อกอินต่างก็สามารถสร้างบทความได้ แต่คุณยังสามารถเสนอให้เขียนบทความได้ใน วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ

ชื่อเรื่องสำหรับบทความใหม่ของคุณ

ในกล่องค้นหาด้านล่าง พิมพ์ชื่อบทความของคุณ แล้วคลิก "ไป" หากหน้าค้นหารายงานว่า "คุณอาจสร้างหน้านี้ได้" ตามด้วยชื่อบทความสีแดง แล้วคุณสามารถคลิกชื่อบทความสีแดงและเริ่มต้นแก้ไขบทความได้
ยังไม่มีบทความนี้?
พิมพ์ชื่อ แล้วคลิก "ไป (ลองชื่อเรื่อง)"
* ค้นหาชื่อที่ใกล้เคียง
อาจมีหรือไม่มีบทความในชื่อเดียวกับที่คุณต้องการจะเขียน
การที่ไม่มีบทความชื่อเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ไม่มีบทความอยู่ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การค้นหาช่วยได้

การจัดการบทความที่ชื่อซ้ำกัน

บางครั้งมีบทความในชื่อที่เขียนเลือกแล้ว แต่เป็นหัวข้อที่ต่างออกไป ในกรณีนี้ หัวเรื่องจะต้องแยกออกจากกัน กระบวนการแยกชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกันออกจากกันซึ่งความหมายแตกต่างกันชัดเจนนั้น เรียกว่า "การแก้ความกำกวม" มือใหม่อาจสับสน ถ้าจำเป็น สร้างหน้าของคุณเป็นร่างในหน้าผู้ใช้ จากนั้นถามที่เลขาชาววิกิพีเดีย ให้ช่วยเหลือในการแก้ไขความกำกวม
มีสามหนทางหลักในการแก้ความกำกวม ขึ้นอยู่กับมีหัวข้อมากเท่าใดและมีอย่างใดสำคัญมากกว่าที่เหลือมาก
  • หน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ซัลซา" คุณจะถูกนำไปยังหน้าแก้ความกำกวมซึ่งมีหัวเรื่องทั้งหมดที่ชื่อว่า "ซัลซา" รวมทั้ง ซัลซา (ซอส), ซัลซา (แนวดนตรี) และความหมายอื่นอีกมากที่มีคำว่า ซัลซา
  • การใช้หลัก ในบางกรณี ชื่อโดยตัวของมันเองจะใช้เป็นชื่อความหมายที่ใช้กันมากที่สุดของคำนั้น ("การใช้หลัก") และการใช้อย่างอื่นทั้งหมดจะพบในหน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์คำว่า "ไทย" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับประเทศไทย ส่วนการใช้อย่างอื่น เช่น ชาวไทย ทำรายการไว้ในหน้าแก้ความกำกวม
  • เพียงสองหัวข้อ ในบางกรณี ถ้าหัวข้อนั้นมีเพียงสองความหมาย ชื่อเรื่องเพียงอย่างเดียวควรใช้สำหรับความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายทั่วไปกว่า และมีข้อความไว้บนสุดของหน้านั้น จะถูกใช้เพื่อนำผู้อ่านไปยังอีกบทความหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพิมพ์คำว่า "กรุงเทพมหานคร" คุณจะถูกนำไปยังบทความเกี่ยวกับเมืองหลวงของประเทศไทย และจะมีลิงก์นำคุณไปยังกรุงเทพมหานคร ที่เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ใส่แหล่งอ้างอิง

สิ่งแรก ๆ ที่คุณควรเขียนในบทความของคุณ คือ รายการแหล่งข้อมูลสำหรับสารสนเทศของคุณ สำหรับตอนนี้ แค่ใส่ลิงก์แบบด้านล่างนี้ (ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นลิงก์โดยอัตโนมัติ):
(1) http://www.nytimes.com/2007/04/12/books/12vonnegut.html
(2) http://www-03.ibm.com/ibm/history/exhibits/space/space_shuttle.html
ภายหลัง คุณจะเรียนรู้วิธีการจัดรูปแบบให้ปรากฏเป็นเชิงอรรถ
จะเป็นการดีกว่าหากคุณยังไม่คล่อง ในการสร้างบทความของคุณในหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้คุณ ที่ซึ่งคุณสามารถใช้เวลานานได้เท่าที่ต้องการในการทำให้มันเป็นบทความที่ดี จากนั้นค่อยย้ายไปลงในสเปซบทความหลัก คุณสามารถสร้างหน้าทดลองเขียน ("กระบะทราย") ส่วนตัวเพื่อพัฒนาบทความโดยคลิกลิงก์นี้ อย่างไรก็ดี แม้ในบทความสเปซผู้ใช้ หัวข้อที่ไม่อาจยอมรับได้ก็อาจถูกเสนอให้ลบได้

จัดหมวดหมู่

ทุกบทความควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งในวิกิพีเดีย ในการค้นหาหมวดหมู่สำหรับบทความของคุณ ไปที่ หมวดหมู่:มูลฐาน และคลิกหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นตามลิงก์หมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องไปเรื่อย ๆ ให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามลำดับหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเพิ่มการประกาศหมวดหมู่ โดยเขียน [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]] ที่ท้ายบทความของคุณสำหรับแต่ละหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีหมวดหมู่ย่อยที่เกี่ยวข้องของมันเอง

ขั้นสุดท้าย

หลังจากคุณเสร็จสิ้นแล้ว คลิก ดูตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด จากนั้นคลิก บันทึก

หลังสร้างบทความ

ตอนนี้เมื่อคุณได้สร้างหน้าไปแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิกิพีเดียเป็นงานที่ไม่เสร็จ โดยทั่วไปแล้ว บทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ๆ นั้นห่างไกลจากคำว่าเสร็จสมบูรณ์ มากนัก ยังมีหนทางอีกยาวไกล อันที่จริง คุณอาจต้องแก้ไขหลายรอบ แต่บทความก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
หากคุณมีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับบทความที่คุณเพิ่งสร้าง คุณอาจเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต และดังนั้น มีข้อมูลให้เพิ่มเติมอีก ซึ่งอาจคุณอาจกลับมาทีหลังวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรืออีกหลายเดือนหลังจากนี้ ได้ทุกเวลา เอาเลย

ความครอบคลุมของเนื้อหา


แผนภูมิวงกลมแสดงเนื้อหาวิกิพีเดียแบ่งตามประเภท เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551
วิกิพีเดียตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างบทสรุปความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ในรูปแบบสารานุกรมออนไลน์ โดยมีหัวข้อความรู้แต่ละหัวข้อครอบคลุมหนึ่งบทความอย่างเป็นสารานุกรม เนื่องจากวิกิพีเดียมีเนื้อที่ไม่จำกัดอย่างแท้จริง จึงสามารถบรรจุเนื้อหาได้มากกว่าสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่าทุกเล่มที่เคยมีมา นอกจากนี้ยังบรรจุสื่อหรือเนื้อหาที่บางคนอาจมองว่าน่ารังเกียจ ก้าวร้าว หรือลามกอนาจาร วิกิพีเดียแสดงจุดยืนชัดเจนว่านโยบายดังกล่าวมิได้มีไว้เป็นข้อโต้เถียงกัน และนโยบายดังกล่าวบางครั้งก็พิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นบ่อยครั้ง อย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2551 วิกิพีเดียปฏิเสธรับการร้องเรียนออนไลน์ต่อต้านการสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงภาพวาดนบีมุฮัมมัดในรุ่นภาษาอังกฤษ โดยอ้างนโยบายดังกล่าว การมีอยู่ของสื่อที่อ่อนไหวทางการเมืองในวิกิพีเดียนำไปสู่การบล็อกการเข้าถึงวิกิพีเดียของสาธารณรัฐประชาชนจีน[74] และอาจรวมไปถึงมูลนิธิเฝ้าระวังภัยอินเทอร์เน็ต
จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 วิกิพีเดียมีบทความเนื้อหาครอบคลุมถึงสถานที่เกือบครึ่งล้านแห่งบนโลก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซ์ฟอร์ดได้แสดงให้เห็นว่า บทความภูมิศาสตร์นี้กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่เสมอกันอย่างมาก บทความส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออก และมีส่วนน้อยมากที่กล่าวถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา รวมไปถึงส่วนใหญ่ของแอฟริกา[75]
การศึกษาวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนและศูนย์วิจัยพาโลอัลโต ได้จำแนกจำนวนบทความแบ่งตามประเภท ตลอดจนอัตราการเพิ่มจำนวน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงมกราคม พ.ศ. 2551 ไว้ดังนี้[73]
  • ศิลปวัฒนธรรม: 30% (210%)
  • ชีวประวัติและบุคคล: 15% (97%)
  • ภูมิศาสตร์และสถานที่: 14%(52%)
  • สังคมและสังคมศาสตร์: 12% (83%)
  • ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์: 11% (143%)
  • ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์กายภาพ: 9% (213%)
  • เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์: 4% (−6%)
  • ศาสนาและระบบความเชื่อ: 2% (38%)
  • สุขภาพ: 2% (42%)
  • คณิตศาสตร์และตรรกะ: 1% (146%)
  • ความคิดและปรัชญา: 1% (160%)
อย่างไรก็ดี พึงตระหนักจำนวนเหล่านี้หมายถึงจำนวนบทความ ซึ่งบางบทความอาจจะสั้นมาก ขณะที่บางบทความอาจมีความยาวมากก็ได้
การครอบคลุมที่แน่นอนของวิกิพีเดียยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของผู้ร่วมพัฒนา และความไม่เห็นด้วยว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะมีในวิกิพีเดียหรือไม่ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด[76][77]

ความน่าเชื่อถือ

ผลที่ตามมาจากโครงสร้างที่เปิดกว้างให้แก้ไขได้ของวิกิพีเดียนั้น ทำให้วิกิพีเดีย "ไม่มีการรับประกันถึงความถูกต้อง" ของเนื้อหา เพราะในท้ายที่สุดแล้วไม่มีผู้ใดรับผิดชอบต่อข้อความใด ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเว็บ ได้มีความกังวลซึ่งมุ่งประเด็นไปยังการขาดความตรวจสอบได้อันเป็นผลมาจากการปิดบังชื่อของผู้ใช้[82] การสอดแทรกข้อมูลปลอม[83] การก่อกวน และปัญหาที่คล้ายกัน
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่ลำเอียงอย่างเป็นระบบและมีความไม่สอดคล้องกัน[13] นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงอย่างเหมาะสมในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ[84] นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่แน่หากคิดเฉพาะความน่าเชื่อถือของบทความใดบทความหนึ่งเป็นการเฉพาะ[12] บรรณาธิการของงานอ้างอิงแบบเก่า อย่างเช่น สารานุกรมบริตานิกาได้ตั้งคำถามถึงประโยชน์ใช้สอยของโครงการและสถานะความเป็นสารานุกรม[85] อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า[86] บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย[87] ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรวางใจว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้[88]
อย่างไรก็ตาม การสำรวจซึ่งรายงานในวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 เสนอว่าบทความวิทยาศาสตร์วิกิพีเดียมีระดับความถูกต้องแม่นยำใกล้เคียงกับของสารานุกรมบริตานิกา และมีระดับ "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ที่ใกล้เคียงกัน[17] การอ้างดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยสารานุกรมบริตานิกา[89][90]
นักเศรษฐศาสตร์ ไทเลอร์ โคเวน เขียนว่า "ถ้าผมต้องเดาว่าระหว่างวิกิพีเดียหรือบทความเศรษฐศาสตร์ระดับกลางในฐานข้อมูลระดับชาติว่าอย่างไหนมีความถูกต้องมากกว่ากัน ผมคิดไม่นานก็ตัดสินใจได้ว่าผมจะเลือกวิกิพีเดีย" เขาให้ความเห็นว่างานอ้างอิงแบบเก่าที่ไม่ใช่บันเทิงคดีนั้นประสบปัญหาลำเอียงอย่างเป็นระบบด้วยกันทั้งสิ้น ข้อมูลใหม่ ๆ มักจะได้รับรายงานมากเกินงามในบทความวารสาร และข้อมูลเกี่ยวข้องกันก็ได้เผยแพร่ในรายงานข่าว อย่างไรก็ตาม เขายังได้เตือนว่าข้อผิดพลาดนั้นมักพบได้บ่อยบนอินเทอร์เน็ต และว่านักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจะต้องตื่นตัวในการแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้[91]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บทความในหนังสือพิมพ์เดอะฮาร์วาร์ดคริมสัน รายงานว่าศาสตราจารย์บางคนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใส่วิกิพีเดียเข้าไปในบทคัดย่อของตนด้วย แต่มีความไม่ลงรอยกันในความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้วิกิพีเดีย[92] เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 อดีตประธานสมาคมหอสมุดอเมริกัน ไมเคิล กอร์แมน ประณามวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับกูเกิล[93] โดยกล่าวว่า นักวิชาการผู้สนับสนุนการใช้วิกิพีเดียนั้น "มีสติปัญญาเท่ากับนักโภชนาการที่แนะนำให้คนกินบิ๊กแม็คกับอาหารทุกรายการอย่างต่อเนื่อง" เขากล่าวต่อว่า "รุ่นของคนมีปัญญาเฉื่อยชาผู้ไม่สามารถก้าวข้ามอินเทอร์เน็ตได้" กำลังถูกผลิตจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขายังตำหนิว่าแหล่งข้อมูลที่เป็นเว็บนั้นทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ขวนขวายที่จะเรียนรู้จากข้อมูลที่สืบค้นได้ยากกว่าซึ่งมักพบเฉพาะในเอกสารตีพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่บอกรับเป็นสมาชิกเท่านั้น ในบทความเดียวกัน เจนนี ฟราย นักวิจัยแห่งสถาบันอินเทอร์เน็ตอ็อกซ์ฟอร์ด ให้ความเห็นเกี่ยวกับนักวิชาการซึ่งอ้างวิกิพีเดีย โดยกล่าวว่า
คุณไม่สามารถพูดได้ว่าเด็ก ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเกียจคร้านในการใช้สมอง ในเมื่อนักวิชาการก็ใช้เสิร์ชเอนจินในงานวิจัยของตัวเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างก็คือพวกเขามีประสบการณ์มากกว่าในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ได้รับมาคืออะไรและข้อมูลนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เราต้องสอนเด็ก ๆ ให้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นและเหมาะสม[93]